1.เทศกาลปามะเขือเทศ หรือ “ลา โตมาตินา”

      เทศกาลปามะเขือเทศ หรือ “ลา โตมาตินา”  งานเทศกาลปามะเขือเทศ จัดเป็นประจำทุกปี ทุกวันพุธสุดท้ายของเดือนสิงหาคม ณ หมู่บ้านบาเลนเซียน (Valencian) ของ Buñol ในจังหวัดบาเลนเซีย (Valencia) ประเทศสเปน
      เทศกาลนี้ไม่มีอะไรมาก สิ่งที่คุณต้องทำคือการขว้างปา มะเขือเทศ เข้าใส่กันอย่างสนุกสนาน
      ต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ย้อนไปเมือปี 1944 ระหว่างขบวนพาเหรด gigantes y cabzudos เกิดมีเหตุการณ์วัยรุ่นทะเลาะกัน และเจ้ากรรมดันมีแผงขายมะเขือเทศอยู่ใกล้มือพวกวัยรุ่นพวกเขาจึงใช้มันเป็น อาวุธในการขว้างปาเข้าใส่กัน จนตำรวจต้องเข้ามายุติศึกมะเขือเทศ และทำการปรับค่าเสียหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้
     ในปีต่อมาพวกวัย รุ่นก็ยังคงมาเปิดศึกกันอีกเช่นเคยเหมือนปีที่แล้ว แต่สิ่งที่ต่างออกไปในปีนี้พวกเขาเตรียม มะเขือเทศ กันมาจากบ้าน และก็ต้องลำบากตำรวจอีกแล้วครับท่านที่ต้องเข้ามยุติเหตุการณ์ทะเลาะวิวาท กัน แต่มันก็คือประถมบทแห่งเทศกาลปามะเขือเทศ อันลือลั่นที่ถูกจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทุกปีเรื่อยมา
     โดยเทศกาล นี้จะเริ่มต้นเวลา 10 โมงเช้าของวันพุธสุดท้ายของเดือนสิงหาคม โดยจะเริ่มด้วยการปีนเสาทาน้ำมันที่ด้านบนมี แฮม แขวนอยู่ถ้ามีคนสามารถปีนไปโยนแฮมลงมได้ถือเป็นการเริ่มต้นสงคราม มะเขือ(ระหว่างที่มีคนพยามปีนไปเอาแฮม ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวด้านล่างจะร้องเพลง เต้นรำใต้สายน้ำจากท่อประปาอย่างสนุกสนานเพื่อเป็นการฆ่าเวลา)
     โดยเวลา 11 โมง รถบรรทุกมะเขือเทศจะแล่นออกมายัง พลาซ่า del Pueblo แล้วเริ่มขว้างปามะเขือเทศจากบนรถสู่นักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวก็ต่างเก็บมะเขือเทศขึ้นมาขว้างใส่กันอย่างเมามันไม่ถือโทษ โกรธเคื่องกัน
     โดยมะเขือเทศที่นำมาใช้ในเทศกาลนี้มาจาก Extremadura เนื่องจากมะเขือเทศจากที่นี้มีรสชาติไม่อร่อย ราคาถูก ก่อนนำมะเขือเทศมาใช้ในเทศกาลจะต้องนำมะเขือเทศมาคลึงให้น่วมก่อนนำมาเล่นใน เทศกาลเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บรุน

2.เทศกาลกลิ้งก้อนเนยแข็ง

สถานที่: บร็อคเวิร์ธ (โกลเชสเตอร์เชียร์) ประเทศอังกฤษ
       ช่วงเวลา: วันจันทร์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม

    เทศกาล ที่จัดขึ้นทุกปีในคูเปอร์ฮิลล์นี้มีมานานแล้วกว่า 200 ปี โดยในช่วงเที่ยงของวันจันทร์แรกของเดือนพฤษภาคม ก้อนเนยแข็งดับเบิ้ล กลูเชสเตอร์ก้อนโตจะถูกกลิ้งลงมาจากเนินขาและในอีกเสี้ยววินาทีต่อมา ผู้เข้าร่วมงานก็จะวิ่งตามกันเป็นพรวนลงมา แต่บอกได้เลยว่าการวิ่งลงเขาเป็นอะไรที่ยากสุดๆ ผนวกกับสภาพที่เปียก เป็นโคลนตม และหนาวด้วยแล้ว ไม่น่าแปลกใจที่ส่วนใหญ่จะกลิ้งหกคะเมนตีลังกาลงมาเสียมากกว่า งานเทศกาลกลิ้งชีสมีการแข่งด้วยกัน 5 ประเภทซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นการแข่งเฉพาะของผู้หญิง ผู้ชนะทุกรายจะได้ก้อนชีสกลับบ้าน ขณะที่อันดับ 2 และ 3 จะได้รับเงินสำหรับค่าที่จอดรถ

3. เทศกาล “กบ” ในรัฐหลุยส์เซียนา

เทศกาลกบ หรือ “Frog Festival” จัดขึ้นทุกวันแรงงาน โดยคนกว่า 50,000 คน จะนำกบของตัวเอง หรือเช่ามาประกวดแข่งขันรายการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งแข่ง ดนตรี แถมตบท้ายด้วยการกินกบ

 

4.เทศกาลเซา ซูเอา เมืองปอร์โต้ ประเทศโปรตุเกส

         

          เทศกาลเซา ชูเอา เมืองปอร์โต ของโปรตุเกส จัดขึ้นทุกเดือนมิถุนายน เป็นหนึ่งในเทศกาลที่คึกคักที่สุดของยุโรป ทั้งเมืองจะจุดไฟสว่างไสว ตกแต่งประดับประดาสวยงาม กินดื่มกันอย่างสนุกสนาน และหากพบเพศตรงข้ามที่ต้องตาต้องใจ ให้ใช้ค้อนพลาสติกขนาดใหญ่ทุบศีรษะเธอหรือเขาคนนั้น

5.เทศกาลโกนขนแกะ เมืองมาสเตอร์รอน ประเทศนิวซีแลนด์

          เทศกาลแข่งขัน ตัดขนแกะโกลเดนเชียร์ เมืองมาสเตอรอน ของนิวซีแลนด์ จัดขึ้นทุกเดือนมีนาคม มีผู้เข้าร่วมประลองฝีมือตัดขนแกะจำนวนมาก นับตั้งแต่จัดขึ้นในปี 2504 จนหลายครั้งทางการนิวซีแลนด์ ต้องขอให้ทหารมารักษาความเรียบร้อย

6.โยนอุจจาระกวางมูส เมืองทัลคีทนา รัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา

          เทศกาลโยนอุจจาระกวางมูส หรือ Moose Dropping Festival นั้น จะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมของทุกปี โดยจะมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ หรือเครื่องประดับที่ผลิตจากอุจจาระกวางออกวางขาย แถมในช่วงสุดท้ายของเทศกาล จะการแข่งขันขึ้นบอลลูนไปเพื่อโยนอุจจาระกวางมูสก้อน ใหญ่ ลงไปที่เป้าหมายที่มีตัวเลขกำกับไว้ ใครโยนลงตัวเลขที่กำหนดก็จะเป็นผู้ชนะ

7. เทศกาลสงกรานต์ ของประเทศไทย

          “สงกรานต์” คือ วันขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีไทย และเป็นโอกาสที่ สมาชิกในครอบครัว   จะได้ พบกัน พร้อมหน้าพร้อมหน้า ในช่วงเวลานี้ ประชาชนผู้ซึ่ง เป็นคนต่างจังหวัด ที่มา ทำงานใน กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ ก็จะเดินทางไป ฉลองเทศกาลนี้ ที่บ้านเกิดของตน ดังนั้น เมื่อเทศกาลนี้ มาถึงกรุงเทพมหานคร ก็จะกลายเป็นเมืองร้างไปชั่วคราว

 

      เทศกาลสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนและ การฉลอง ประจำปี ก็จะ จัดให้มี ขึ้นทั่ว ทั้งราชอาณาจักร ที่จริงแล้วคำว่า” สงกรานต์” นี้เป็น ภาษาไทย ซึ่งหมายถึง “เคลื่อนย้าย” หรือ เปลี่ยนที่ เพราะว่า เป็นวันที่ พระอาทิตย์ เปลี่ยนตำแหน่ง ในการจักรราศี นอกจากนี้ ยังเรียกว่า”เทศกาลน้ำ” อีกด้วย เพราะว่า ประชาชน เชื่อว่าน้ำ จะพัดพา เอาสิ่งที่เป็น อัปมงคล ออกไป

     วัน ขึ้นปีใหม่ ตามประเพณี ของไทยนี้ เริ่มต้นแต่เช้าตรู่ ด้วยการทำบุญตักบาตร แก่พระสงฆ์ และ ปล่อยนก ที่ขังไว้ให้เป็นอิสระ ในช่วงวาระโอกาส อันเป็นมงคลนี้ สัตว์ต่างๆ ที่ถูกขังไว้ก็จะ ได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ การทำบุญตักบาตร ถือเป็น การสร้างบุญกุศล ให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้น แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว หลังจากทำบุญแล้ว จะมีการ ก่อพระทรายเข้าวัด ถือเป็นกุศลอย่างมาก ดังเช่น ภาคเหนือ มักนิยมขนทรายเข้าวัด เพื่อเป็น นิมิตโชคลาภ ให้มีความสุข ความเจริญ เงินทองไหลมาเทมา ดุจทรายที่ ขนเข้าวัด ส่วนการปล่อยนก ปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาป และ สะเดาะเคราะห์ให้ร้าย ให้หมดสิ้นไป มีแต่ ความสุขความเจริญ  พร้อมกันนี้ การไหว้บรรพบุรุษ ก็เป็น ส่วนสำคัญ ของวันนี้ด้วย ประชาชน จะแสดงความเคารพ ต่อผู้สูงอายุ และ ในทางกลับกัน ผู้สูงอายุ ก็จะอวยพรให้ ผู้น้อยประสบโชคดี และ เจริญรุ่งเรือง ในตอนบ่าย หลังจาก พิธีสรงน้ำ พระพุทธรูป และพระสงฆ์ แล้วผู้ร่วมฉลอง ทั้งหนุ่ม และแก่ ต่างสาดน้ำ ใส่กัน อย่างสนุกสนาน การฉลองที่มี คนกล่าวขานกัน มากที่สุด เห็นจะเป็นที่ จังหวัด ทางภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ ซึ่งการฉลองที่นี่ จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 13- 15 เมษายน ช่วงเวลาที่ ประชาชนจาก ทั่วทุกภาค ของประเทศ จะแห่กันไป ที่นั่น เพื่อร่วมสนุกสาน ในเทศกาลน้ำนี้ เพื่อชม การประกวดนางงาม สงกรานต์ และ ขบวนพาเหรด ที่สวยงาม

8. เทศกาลปาส้มอีเวรี ประเทศอิตาลี

                  

           Orange Festival หรือ เทศกาลปาส้มอีเวรี จัดขึ้นทุกเดือนกุมภาพันธ์ กำเนิดขึ้นเมื่อหลายศตวรรษก่อน จากการที่ชาวเมืองอิตาลีลุกขึ้นต่อต้านผู้ปกครองนครใ นขณะนั้น โดยการจับมาตัดศีรษะ ส่วนองครักษ์ทั้งหลายก็ถูกขว้างก้อนหินใส่จนเสียชีวิ ต แต่ปัจจุบัน เทศกาลนี้หันมาใช้ส้มเป็นสัญลักษณ์แทนก้อนหิน เพื่อบรรเทาปัญหาผลผลิตส้มล้นตลาด

          เทศกาลปาส้มเป็นเทศกาลต่อสู้ด้วยผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลีซึ่งจัด ขึ้นที่เมืองอีเวเรีย แคว้นพีดมอนต์ ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ในงานเทศกาลนี้จะประกอบไปด้วยผู้คนที่เข้ามาร่วมงานกว่า 3,000 คน จะมีผู้บังคับม้าให้ลากรถเกวียนที่บรรทุกกลุ่มอาสาสมัครใส่ชุดนวมและหมวก ป้องกันเข้ามาอยู่กลางเมือง หลังจากนี้ไปก็เกิดการปาส้มระหว่างคนบนรถเกวียนกับคนที่ยืนอยู่ด้านล่างกัน อย่างอลหม่าน

          เทศกาลนี้มีที่มาจากการที่ชาวเมืองทำการต่อต้านท่านเคาท์ราเนรีผู้ปกครอง เมืองในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่มักข่มเหงชาวเมืองด้วยการลักพาตัวหญิงสาวสามัญชน ที่กำลังจะแต่งงานให้ไปเป็นภรรยาของตนเอง จนกระทั่งวันหนึ่งท่านเคาท์ราเนรีได้ไปลักพาตัว ไวโอเล็ตต้า ลูกสาวเจ้าของโรงโม่ข้าวไป ด้วยความกล้าหาญของไวโอเล็ตต้า เธอจึงต่อสู้และสามารถตัดหัวของท่านเคาท์นำมาประจาน ทำให้ชาวเมืองต่างยินดี แต่เมื่อทหารทราบข่าวจึงรีบไปจับตัวไวโอเล็ตต้า ทำให้ชาวเมืองต่างช่วยกันปาหินใส่ทหารเหล่านั้น

          จนกระทั่งเหตุการดังกล่าวกลายมาเป็นประเพณีที่ต้องทำกันทุกๆปี เพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของไวโอเล็ตต้าที่ได้นำอิสรภาพมาสู่ชาวเมือง โดยในแต่ละปีก่อนถึงงานเทศกาล จะมีการคัดเลือกเด็กนักเรียนเพื่อให้มารับบทเป็นไวโอเล็ตต้า และมีการจัดหาอาสาสมัครให้ขึ้นไปบนรถเกวียนเพื่อเป็นตัวแทนทหารท่านเคาท์ ด้วย

9. เทศกาลทาสีวัว ประเทศลักเซมเบิร์ก

        เทศกาลทาสีวัว ของลักเซมเบิร์ก ตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนกันยายน ชาวเมืองจะนำวัวมาตกแต่งตลอดฤดูร้อนตามแต่จินตนาการ วัวบางตัวถูกแปลงโฉมเป็นม้าลาย บางตัวถูกวาดด้วยทิวทัศน์เทือกเขาแอลป์

10.เทศกาลกระเทียม

          Garlic Festival จัดขึ้นทุกเดือนกรกฎาคม มีที่มาจาก ดร.รูดี้ เมโลน อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองกิลรอย ไม่พอใจที่เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส อ้างว่าเป็นเมืองหลวงแห่งกระเทียมของโลก ทำให้ ดร.รูดี้ ตัดสินใจพิสูจน์ให้ทั่วโลกเห็นว่า เมืองกิลรอยต่างหากที่เป็นเมืองกระเทียมของโลกอย่างแท้จริง ตั้งแต่นั้นมาก็มีการจัดงานทุกอย่างที่เกี่ยวกับกระเทียม ทั้งอาหารหลากหลายชนิด ศิลปะ และดนตรี